ไปเที่ยวทั้งที่ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการแบ่งปันความสุขอย่างทันท่วงที ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันก็ช่วยให้การอยู่ไกล ดูใกล้มากขึ้น มาดูกันดีกว่าว่าถ้าเราไปเที่ยวญี่ปุ่น มีอะไรบ้างที่ทำให้เรา อัพสเตตัสเฟสบุค เชคอิน ไลน์ อัพรูปลงอินสตาแกรม ทวีต หรือโทรหาใครซักคนได้เร็วๆบ้าง คิดว่าทุกคนน่าจะมีโทรศัทพ์สมาร์ทโฟนหรือแท๊ปเล็คซักเครื่องติดตัวไปด้วยอย่างแน่นอน เลยจะขอเน้นเรื่องอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก เพราะ คิดว่าทุกคนคือหนุ่มสาวโซเชียว เรากับอินเตอร์เน็ตขาดกันไม่ได้อย่างสิ้นเชิง อีกอย่างคืออินเตอร์เนตจำเป็นอย่างมาก เวลาที่เราต้องหาข้อมูลระหว่างเที่ยว
ถ้าเราอยากใช้อินเตอร์เนตตอนอยู่ที่ญี่ปุ่นก็มีทางเลือกอยู่หลายทาง เช่น เช่า Pocket Wifi, ซื้อ Sim card, ใช้บริการ Roaming ของค่ายโทรศัพท์ในไทย หรือ Free wifi hotspot ตามที่ต่างๆ ไปดูรายละเอียดกันเลย
วิธีการเช่า Pocket Wi-Fi สามารถทำได้ทั้งการเช่าผ่านอินเตอร์เน็ตหรือไปเช่าตามเคาเตอร์ที่สนามบิน ซึ่งวิธีที่ดีกว่าคือการเช่าผ่านอินเตอร์เน็ต เพราะ มีตัวเลือกที่ราคาถูกๆมากกว่า และมีโอกาสที่จะได้ Pocket Wi-Fi มาเช่าจริงๆ เพราะการไปเช่าตามเคาเตอร์ที่สนามบิน พอเราไปถาม อาจจะได้คำตอบว่า Pocket Wi-Fi หมดแล้ว ไม่มีให้เช่า แต่ถ้าหากไม่ได้เตรียมตัวหรือเกิดเหตุสุดวิสัย ที่ทำให้ต้องไปเช่าที่สนามบินก็สามารถเดินหาเคาเตอร์ได้เลย มีหลายยี่ห้อ เช่น Softbank, Telecom Square โดยการเช่าที่เคาเตอร์ จะต้องมีการันตรีนั้นก็คือบัตรเครดิตของเรา เพื่อเอาไว้ชาร์ทตามหลังหากเราเบี้ยว แล้วก็ทำสัญญาว่าจะเช่าวันไหนถึงวันไหน
ส่วนจองผ่านอินเตอร์เน็ต ก็คือ เราเข้าเว็บผู้ให้เช่าแล้วใส่รายละเอียดการเช่าไป ระบุสถานที่รับเช่นอาจจะไปเอาที่สนามบิน หรือให้ส่งไปที่โรงแรม แล้วก็จัดการเรื่องเงินๆทองๆ แล้วก็พอไปถึงก็ไปรับของตามที่ระบุแล้วก็ใช้ ถึงวันกลับก็คืนตามที่ตกลงกับผู้ให้เช่า ตัวอย่างของผู้ให้เช่า
Global Advanced Communication PuPuRu Exseli Telecom Square Rentafone Japan Softbank Rental
ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำของที่เช่ามาชำรุด สูญหาย ย่อมลงเอยก็ด้วยการถูกปรับอยู่แล้ว แต่ผู้ให้เช่าก็จะมีขายประกันอุปกรณ์ ซึ่งเขาก็จะถามเราว่าเราสนใจไหม ประกันจะช่วยแบ่งเบาภาระเราหากเกิดเหตุไม่คาดคิด แต่เป็นเงินที่จ่ายแล้วเสียเปล่า คิดเป็นรายวัน ถ้าไม่อยากจ่ายก็ใช้อย่างระวัง คืนในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด
สำหรับใครที่มี Pocket Wi-Fi อยู่แล้วแล้วอยากซื้อแค่ซิมการ์ดใส่ สามารถหาข้อมูลได้จาก SIM Card
แพคเกจ |
1 GB |
14 วัน ไม่จำกัดปริมาณ |
ราคา |
¥3,980 |
|
ประเภทซิมการ์ด |
Standard SIM | Micro SIM | Nano SIM |
|
ความเร็วอินเตอร์เน็ต |
ไม่จำกัดความเร็ว |
ความเร็วสูงสุด 300kbps |
ระยะเวลาการใช้งาน |
14 วัน หรือ ใช้ดาต้าหมด 1GB |
14 วัน |
ข้อมูลเพิ่มเติม |
รับส่งข้อมูลเท่านั้น ไม่มีบริการโทร |
รับส่งข้อมูลเท่านั้น ไม่มีบริการโทร มีการจำกัดการรับส่งข้อมูลข้อมูล VoIP, Video, Steaming Content |
การตั้งค่า | APN : bmobile.ne.jp Username : bmobile@fr Password : bmobile Auth type : PAP or CHAP (if available) PDP type : IP (if required) |
APN : bmobile.ne.jp Username : bmobile@u300 Password : bmobile Auth type : PAP or CHAP (if available) PDP type : IP (if required) |
ดูข้อมูลเพิ่มเติม และสั่งซื้อล่วงหน้าผ่านทางเว็บได้ สั่งซื้อล่วงหน้า
อย่าลืมตรวจสอบว่าเครือข่ายรองรับโทรศัพท์รุ่นที่เราใช้หรือเปล่า หลักๆคือ มือถือต้องรองรับระบบ W-CDMA/HSDPA/HSUPA Band 1 (2100MHz) หรือ Band 19 (800MHz) (โทรศัพท์รองรับคลื่น 2100 หรือ 800 ได้) และเป็นเครื่องต้องปลดล็อค ใส่ซิมค่ายอื่นได้ซึ่งตวจสอบได้ โดยรวมแล้วโทรศัพท์จากไทยนำไปญี่ปุ่นน่าจะไม่มีปัญหา แต่ก็มีข้อยกเว้น เช่น ไอโฟน 4 กับไอแพด 2 ถ้าอัพเกรดเป็น iOS 7 แล้วไม่สามารถใช้ได้ ตรวจสอบเพิ่มเติมได้ ที่นี่
สุดท้าย สำหรับใครที่อยากใช้โทรผ่านไลน์หรือสไกป์ ดูยูทูป แพคเกจ 1GB ดูจะเหมาะกว่า แต่ก็ต้องระวังการใช้งานของตัวเองด้วย และถ้าใครไปเกิน 14 วันหรือ ใช้เน็ตหมดก่อน สามารถเติมเงินหรือ recharge ได้ในราคา¥3,980
AIS* | TRUE** | TRUE (ซิมท่องโลก) | DTAC*** | ||
เครือข่ายญี่ปุ่นที่ใช้ | SoftBank / 44020 / Vodafone JP | JP Docomo, NTT Docomo, 44010 | JP Docomo, NTT Docomo, 44010 | NTT, Docomo | |
ค่าบริการ | 1 วัน | 450.-/Unlimited | 333.-/Unlimited | 333.-/Unlimited | 350.-/25MB |
3 วัน | 1,300.-/Unlimited | 950.-/Unlimited | 900.-/Unlimited | – | |
5 วัน | 2,000.-/Unlimited | 1,550.-/Unlimited | 1,450.-/Unlimited | – | |
7 วัน | – | 2,150.-/Unlimited | 2,000.-/Unlimited | 2599.-/500MB |
* แพ็กเกจ สิ้นสุดที่ 23.59 น. เวลาประเทศญี่ปุ่น หมายถึงว่า ข้ามเที่ยงคืนไป ถือว่าหมด 1 วัน
** เริ่มนับการใช้งานทันทีเมื่อได้รับข้อความยืนยันการซื้อแพ็กเกจ ดังนั้นควรซื้อแพ็กเกจขณะอยู่ต่างประเทศ เพื่อการใช้งานได้อย่างคุ้มค่า นับ 1 วันคือ 24 ชม.
*** คิดค่าบริการส่วนเกินที่ 12 บาท/MB หากใช้เกินจำนวน MB ที่กำหนด (ภายในระยะเวลารับสิทธิ์ของแพ็กเกจ)
ดูเปรียบเทียบแล้ว เห็นได้ชัดเลยว่า อันไหนคุ้มค่าที่สุด แต่ยังไงก็ตาม กรุณาอ่านเงื่อนไขการใช้งานอย่างละเอียดจากเครือข่ายที่ใช้งานให้เข้าใจก่อนเสมอ ถ้าไม่เข้าใจก็โทรหา Call center เลย
เนื่องจาก บริการ Roaming มีค่าใช้จ่ายสูง ฉะนั้นควรระวังการใช้งานของเราให้เป็นไปตามเงื่อนไขให้ดี และอีกเทคนิคนึง ที่ป้องกันไม่ให้เรามีปัญหาการเรียกเก็บเงินเกินคาด คือ การใช้ Pre-paid Sim Card คือเติมเงินค่าบริการก่อนค่อยใช้ ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อป้องกันความรู้เท่าไม่ถึงการในการใช้งานของเราหรือความผิดพลาดในการคิดเงินของเครือข่ายซึ่งสามารถสูงถึงหลักหมื่นเลยทีเดียว ลงทุนซื้อซิมใหม่แล้วเอาไปใช้เพื่อความสบายใจของเราดูจะดีกว่า
ก่อนเดินทาง ควรตรวจสอบหน่อยว่า เบอร์ที่เอาไปใช้นั้น เปิดใช้บริการ Roaming แล้วจริงๆ สามารถใช้งานได้จริงๆ ไม่ใช่ไปถึงญี่ปุ่นแล้วขึ้น No Service แบบนี้จะหงุดหงิดได้ง่ายๆเลย และอีกอย่างที่สำคัญคือ เชื่อมต่อสัญญาณให้ตรงเครือข่ายกับที่ผู้ให้บริการทำการ Roaming ไว้ด้วย (ตามตาราง)
Wi- Fi Hotspot ในญี่ปุ่นมีทั้งแบบต้องจ่ายเงินและฟรี สามารถต่อได้ตามที่ต่างๆ ส่วนมากจะเป็นแหล่งชุมชน หรือพวกเขตสาธารณะ เช่น สนามบิน สถานีรถไฟ โรงแรม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ หรือตาม บาร์
สำหรับ Free Wi-Fi Hotspot จะมีให้บริการตามสถานที่หลักๆในญี่ปุ่นอยู่แล้ว เช่น โรงแรม สนามบิน สถานีรถไฟ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว หรือ แหล่งช้อปปิ้ง และ Free Wi-Fi Hotspot ส่วนใหญ่เราจะต้องลงทะเบียนก่อน ถึงจะใช้ได้ นอกจากตามโรงแรมที่อาจจะแค่ใส่รหัสเพื่อเชื่อมต่อเท่านั้น อีกอย่าง ส่วนใหญ่แล้วฟรีไวไฟตามแหล่งชุมชนมีการจำกัดการใช้งานด้วย หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่ได้ฟรีตลอดเวลา เราสามารถลองต่อแล้วอ่านเงื่อนไขดูได้ ไปดูตัวอย่างคราวๆกัน
ทั่วๆไป | สนามบินหลักๆ | สนามบินระหว่างประเทศหลักๆ เช่น นาริตะ ฮาเนดะ นาโกย่า คันไซ ฟุคุโอกะ ล้วนมีฟรีไวไฟให้บริการ |
Freespot | ฟรีไวไฟนี้ มีอยู่ตามโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้า ทั่วๆไป | |
7spot | เป็นฟรีไวไฟที่มีอยู่ตามร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลเว่นบางสาขา | |
NTT East Free Wifi | เป็นฟรีไวไฟ สำหรับ “นักท่องเที่ยว” เท่านั้น มี Access Point 17,000 จุดทั่วฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น สิ่งที่เราต้องใช้คือบัตรรหัสเพื่อเข้าใช้งาน ซึ่งก็สามารถขอได้หลายจุด เช่นเคาเตอร์ของ NTT East ที่สนามบินฮาเนดะ สนามบินนาริตะ หรือ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดหรือสถานที่แจกบัตรรหัสได้ที่เว็บไซต์ โดยในการขอบัตรนั้นเราต้องแสดงพาสปอตด้วยรายละเอียดเพิ่มเติม | |
Starbucks | เรารู้กันอยู่แล้วว่าสตาร์บัคส์มีฟรีไวไฟให้เล่น | |
โตเกียว | JR East Free Wi-Fi | มีอยู่ภายในสถานี JR หลักๆในโตเกียว เช่น อูเอโนะ อกิฮาบาระ ชินจูกุ ชิบูยา ฮาราจุกุ อิเคะบุคุโระ |
GinzaFree | มีอยู่ในย่านช้อปปิ้งถนนกินซ่าในโตเกียว | |
Japan Free Wifi | มีอยู่ตามตึกต่างๆในย่านมารุโนะอุจิ | |
Ome-free | มีอยู่บนย่านโอโมเตะซานโดใกล้กับฮาราจุกุ | |
Tokyo Metro manta | มีอยู่ในบางสถานีของ Tokyo Metro อยู่ในช่วงทดลอง ซึ่งสามารถได้ใช้ได้เฉพาะ smartphones และต้องลงแอพพลิเคชั่น Free manta | |
เกียวโต | Kyoto Wifi | มีอยู่ทั่วๆไปตามป้ายรถเมย์ สถานีรถไฟใต้ดิน สถานีรถไฟ ร้านอาหารและคาเฟ่ในใจกลางเกียวโต |
Shijo Musen LAN | มีอยู่ที่ถนนช้อปปิ้งชิโจโดริ | |
คันไซ | JR West Free Wi-Fi | มีอยู่ตามสถานีหลักๆของรถไฟ JR ในภูมิภาคคันไซ รวมถึงชินคันเซนสายซันโยที่วิ่งผ่าน เกียวโต โอซาก้า ชินโอซาก้า ซานโนมิยะ โอกายาม่า ฮิโรชิมา และ ฮากาตะ โดยต้องขอรหัสโดยการส่งอีเมล์เปล่าๆ ไปที่ rw@forguest.wi2.ne.jpรายละเอียดเพิ่มเติม |
ฮิโรชิมา | Hiroshima Free Wi-Fi | มีอยู่ 7 ที่ในฮิโรชิมา ได้แก่
|
ฟุคุโอกะ | Fukuoka City Wi-Fi | มีอยู่ตามสถานีรถไฟใต้ดินและบางตึกในฟุคุโอกะ |
Wifi Free Street Tenchika | อยู่ย่านช้อปปิ้งใต้ดิน Tenchika |
สำหรับ Wi-Fi Hotspot ที่ต้องจ่ายเงินก็มีราคาหลายแบบซึ่งเวลาเราต่อ เราสามารถดูรายละเอียดได้ ตัวอย่าง เช่น BB Mobile Point, Softbank Wi-Fi Spot, Wi2, Fon, Skype WiFi
ข้อดีกับข้อเสียของแต่ละแบบก็แตกต่างกัน ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับความต้องการการใช้งานของเรา ใครอยากประหยัด ใครอยากใช้งานตลอดเวลา เลือกให้ตรงจุดประสงค์เราที่สุด
สำหรับคนที่ใช้สมาร์ทโฟนและแท๊ปเลต แล้วอยากโทรด้วย ขอแนะนำให้ใช้แอพพลิเคชั่นบนมือถือที่ใช้โทรได้โทรดีกว่า เช่น Line, Viber, Skype, Tango ซึ่งคุณภาพในการโทรจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเน็ต คือ ถ้าคลื่นอินเตอร์เน็ตดีและเร็ว เสียงก็เพราะ ลื่นไหล ไม่ดีเลย์ แต่ถ้าไม่ดี ก็แล้วแต่บุญเลย แต่ขึ้นชื่อว่าญี่ปุ่นแล้ว คิดว่าคงไม่น่ามีปัญหา แต่ก็อาจจะมีอีกปัญหาว่า ถ้าจะโทรหาเบอร์บ้านละ หรือ โทรหาใครที่ไม่เล่น Line, Viber, Skype, Tango ละ จะทำยังไร “มีทางเลือก 2 ทางครับ” คือใช้ Viber Out หรือ Skype Voice
Skype ให้บริการที่ทำให้เราสามารถโทรหาใครก็ได้ ส่ง SMS หาใครก็ได้ ผ่าน Skype ได้ เพียงแค่เรามี Skype Account กับ Skype Credit ก็สามารถโทรและส่ง SMS ได้แล้ว ไม่ฟรีนะ แต่ก็ไม่ได้แพงจนจ่ายไม่ไหว ก็ลองเอาไปคิดดูว่าคุ้มค่าแค่ไหน จำเป็นสำหรับเราไหม
Skype Account สำหรับคนที่ยังไม่มีก็ไปสมัครได้เลย สมัครฟรี ขั้นตอนไม่ยาก แค่เราดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Skype (ซึ่งรองรับเกือบทุกอย่าง Andriod, Apple, PSP, Blackberry, Windows) แล้วก็เข้าไปสมัครสมาชิกในนั้น แล้วก็เติม Skype Credit ซึ่งมี 2 แบบ ก็สามารถใช้งานได้เลย
[one_half]
Pay as you goโทรเมื่อไร ก็หักเครดิตตอนนั้น เหมือน โทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน ข้อดีของแบบนี้คือ เราเติมเงินเมื่อไรก็ได้ เท่าไรก็ได้ (เริ่มต้น 10 USD) แล้วเราก็จะมี Skype credit ติดใน Skype Account เรา เวลาเราโทร(ได้ทั้งมือถือและโทรศัพท์บ้าน) หรือส่ง SMS ทาง Skype ก็จะหัก Skype credit ไป ตามเรตค่าโทรที่เขาบอกบนเว็บ สามารถเข้าไปเช็คได้ ไม่แพงมากจนเกินไปแน่นอน อีกอย่างที่สำคัญคือ Skype credit ไม่มีวันหมดอายุ จะเอาไว้ใช้เที่ยวปีถัดๆไปก็ไม่มีปัญหา สำคัญกว่านั้น เราสามารถใช้ Skype credit นี้โทรไปเบอร์ต่างประเทศได้ด้วย* เช็คล่าสุด โทรกลับไทยครั้งนึงเสียค่าเชื่อมต่อ 1 ครั้ง คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 3 บาท ค่าโทรนาทีละ ประมาณ 4 บาทสำหรับมือถือและเบอร์โทรนอกกรุงเทพ ส่วนเบอร์โทรกรุงเทพ แค่นาทีละ ประมาณ 2 บาท |
[/one_half]
[one_half_last]
Subscriptionสำหรับคนที่อยากโทรเยอะ เติมเงินคงจะไม่คุ้มเท่าไร อันนี้คือแบบเหมานาทีรายเดือน คือจะมีให้เลือก 4 แบบ
ถ้าใช้นาทีหมดก่อนครบรอบ เราจะโดนชาร์ทเพิ่มด้วยเรตมาตรฐานที่ Pay as you go ใช้ อันนี้โทรได้แค่ประเทศที่เราสมัครรายเดือนไว้ สามารถใช้แค่เดือนเดียวได้ |
[/one_half_last]
ขอเน้นย้ำว่า “Skype ใช้เน็ต ต้องต่อเน็ตก่อน ถึงจะโทรออกได้”
Viber เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นานกับ Feature ใหม่ ที่เราสามารถใช้ Viber โทรออกหาเบอร์โทรศัพท์ได้ หรือที่เรียกว่า Viber Out ซึ่งการใช้งานก็ง่าย ลักษณะเหมือนกับ Skype เพียงแค่สมัคร Account ซึ่งสามารถทำผ่าน https://account.viber.com/create-account/#have_viber_form หรือทำผ่านแอพพลิเคชั่น Viber เองก็ได้ จากนั้นก็แค่ เติม Credit (ซึ่งเป็นลักษณะแบบเดียวกับ Skype Pay As you go) จากนั้นก็สามารถใช้โทรออกได้เลย
เช็คเรตราคาค่าโทรได้ที่ https://account.viber.com สำหรับโทรกลับประเทศไทยนั้น ค่าโทรทั้งโทรเบอร์บ้านและเบอร์มือถือ ราคาเท่ากัน คือ 3.9 เซนต์ต่อนาที หรือราคาประมาณ 1.3 บาทต่อนาทีเท่านั้น
คุณภาพของการสื่อสารจากการลองใช้ ถือว่าคุณภาพใช้ได้ และเมื่อเปรียบเทียบกับค่าโทรที่ถูกกว่า Skype แล้ว Viber out ถือว่าเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ นอกจากนั้น Credit ยังมีให้เริ่มเติมที่ 4.99 เหรียญสหรัฐ ซึ่งช่วยประหยัดไปได้พอสมควรสำหรับใครที่ไม่เน้นการโทร